ลั่นทม : Plumeria
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ
|
ลีลาวดี
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Plumeria rubra L.
|
วงศ์
|
Apocynaceae
|
ชื่ออื่นๆ
|
จำปา, จำปาลาว, จำปาขอม, Frangipani, Temple Tree, Graveyard Tree
|
ถิ่นกำเนิด
|
อเมริกาใต้
|
ประเภท
|
ไม้ดอกขนาดกลาง
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด, การปักชำ, การเปลี่ยนยอด, การติดตา
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้ง ก่อนที่จะผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่
- กิ่งที่ยังไม่แก่ จะมีสีเขียวอ่อนนุ่ม ดูเกือบจะอวบน้ำ ส่วนกิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ กิ่งไม่สามารถทานน้ำหนักได้ กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นหนาต้นที่โตเต็มที่แล้วจะพัฒนาจนกระทั่งมีความแข็งแรงมากขึ้น
- เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับและหนาแน่นใกล้ปลายกิ่ง มีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งรูปร่าง ขนาด สี และความหนาแน่น โดยทั่วไปใบจะหนา เหนียวแข็ง และมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขาออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกัน
- ดอกจะผลิออกมาจากปลายยอดเหนือใบ เห็นเป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม แต่ก็มีบางชนิดที่ออกช่อดอกระหว่างใบ หรือใต้ใบบางชนิดห้อยลงบางชนิดตั้งขึ้น ในหนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10 – 30 ดอก บางต้นที่มีความสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ
เกร็ด
- ทุกส่วนของต้นลีลาวดีจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
- ลั่นทม หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ไม่ได้มีความหมายว่า "ระทม" เหมือนที่คนเข้าใจ
- มีความเชื่อว่ากลิ่นของดอกลีลาวดีจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศ เหมาะสำหรับนักบวชและผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามารมณ์มากวนใจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น