ประดู่ : Burma padauk
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อสามัญ
|
ประดู่ : Burma padauk
|
ชื่อวิทยาศาสตร์
|
Pterocarpus macrocarpus Kurz
|
วงศ์
|
Fabaceae
|
ชื่ออื่นๆ
|
ฉะนอง (เชียงใหม่)
จิต๊อก (ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอน)
เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
|
ถิ่นกำเนิด
|
อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว, เวียดนาม และไทย
|
ประเภท
|
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
|
การขยายพันธุ์
|
การเพาะเมล็ด
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- เป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
- ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน[8]
- ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
- ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน[8]
- ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เกร็ด
- ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
- เป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น