พญาสัตบรรณ : Alstonia scholaris

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อสามัญ
พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Alstonia scholaris (L.) R. Br.
วงศ์
Apocynaceae
ชื่ออื่นๆ
สัตบรรณ, ตีนเป็ด
ถิ่นกำเนิด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเภท
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

·       ลำต้นเปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว
·       ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
·       ดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
·       ผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น

เกร็ด

·       เป็นไม้มงคลของจังหวัดสมุทรสาคร
·       เปลือกต้นพญาสัตบรรณ สามารถรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรียได้
·       ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

·       น้ำยางสีขาวและใบ สามารถรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้